MOU คืออะไร
MOU คือข้อตกลงประเภทหนึ่งระหว่างฝ่ายทวิภาคีหรือพหุภาคี เป็นการแสดงออกถึงการบรรจบกันของเจตจำนงระหว่างทั้งสองฝ่าย ในที่นี้อ้างอิงถึงเอกสารเจตจำนงทวิภาคีที่ลงนามระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศต้นทาง (ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา) ในการส่งแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย
MOU นำเข้า คืออะไร
MOU นำเข้าคือนายจ้างชาวไทยที่นำเข้าแรงงานจากประเทศต้นทางเพื่อมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายผ่านเอกสาร MOU ที่ลงนามระหว่างประเทศไทยและประเทศต้นทาง
เอกสารที่ต้องจัดทำเพื่อนำเข้าแรงงานผ่านบันทึกความเข้าใจ
- หนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 3 เดือน 6 ชุด (นิติบุคคล)
- สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านกรรรมการ 6 ชุด
- รูปถ่าย ป้ายบริษัท บริเวณโดยรอบ ภายนอก-ภายในอาคาร หน้างาน ลักษณะการทำงาน พี่พักของคนงานโดยละเอียด 6-10 รูป
- แผนที่บริษัทและสถานที่ทำงาน
ขั้นตอนในการดำเนินการบันทึกความเข้าใจ
- 1. การยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ
- แบบคำร้องขอนำเข้าแรงงาน DEMAND LETTER
- ยื่นเอกสาร ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1-10 หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
- 2. การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางานมีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานฑูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศ้นทาง
- 3. การดำเนินการของประเทศต้นทาง (เมียนมา ลาว กัมพูชา)ประเทศต้นทางรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และทำแบบบัญชีรายชื่อ (NAME LIST)
- 4. การยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวเมื่อได้รับแบบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (NAME LIST) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารที่เดี่ยวข้อง
- 5. การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศกรมการจัดหางานมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ ประเทศต้นทาง (เมียนมา ลาว กัมพูชา) เพื่อลงตราวีซ่า และสำนักงานครวจคนเข้าเมือง เพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
- 6. การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแจ้งวัน เวลาเดินทาง ที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง ก่อนล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ ตม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สธ. เจ้าหน้าที่ ศูนย์แรกรับฯ ร่วมกันตรวจสอบ
- 7. ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างตรวจสุขภาพ (ตรวจโรค 6 โรค) ตรวจโควิดATK อบรม ณ ศูนย์แรกรับฯ แจ้งเข้าทำงานและรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางาน
- 8. เดินทางไปยังสถานประกอบการแรงงานเดินทางไปยังสถานที่ทำงาน แจ้งเข้าทำงานและรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางาน
สื่งที่แรงงานจะได้รับ
- พาสปอร์ต
- วีซ่า Visa 2 ปี
- ใบอนุญาตทำงาน Work Permit 2 ปี
- ตรวจสุขภาพ 6 โรค
- ประกันสุขภาพเอกชน 6 เดือน
- ตรวจ COVID – ATK
- อบรม ณ ศูนย์แรกรับ
- รถส่งแรงงานถึงหน้างาน
- แจ้งเข้าแรงงาน บต.13
ประโยชน์ของการนำเข้าแรงงานผ่าน MOU
- แรงงานเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- กำหนดขอบข่ายการทำงานความต้องการแรงงานได้ เช่น ทักษะ หรือ ความชำนาญในการเป็นงาน (งานฝีมือ) สามารถคัดกรองคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการได้
- มีความเสถียรในการจ้างงานตามสัญญาจ้าง ตลอดระยะเวลา 2 ปี
บทบัญญัติบางประการสำหรับการนำเข้าแรงงานผ่าน MOU
- MOU นำเข้า MYANMAR
- การนำเข้าแรงงาน MOU สัญชาติเมียนมาร์ ขั้นต่ำในการนำเข้า 10-20 คนขึ้นไป สามารถนำเข้าได้ทั้งงานก่อสร้างและงานโรงงาน
- การนำเข้าแรงงาน ทางนายจ้างจะต้องเป็นนิติบุคคล
- ทางนายจ้างจะต้องจัดหาที่พักให้กับแรงงาน
- ทางนายจ้างไม่สามารถหักจากแรงงานได้
- MOU นำเข้า LAO
- การนำเข้าแรงงาน MOU สัญชาติลาว ขั้นต่ำในการนำเข้า 6 คนขึ้นไป
- ทางนายจ้างสามารถหักจากแรงงานได้ 18,000 บาท (เดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลา 6 เดือน)
- MOU นำเข้า CAMBODIA
- การนำเข้าแรงงาน MOU สัญชาติกัมพูชา ขั้นต่ำในการนำเข้า 10 คนขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทงาน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่บริษัท
- สำหรับทำงาน งานโรงงาน งานร้านอาหาร งานก่อสร้าง หรือ อื่นๆ
หากนายจ้างบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย เราให้บริการในการนำเข้าแรงงานด้วยระบบ MOU ไม่จำเป็นที่ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อนด้วยตนเอง หากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอย่างรวดเร็วกรุณาติดต่อ 062-5673777 อีกทั้ง P. C 80 เป็นผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจร บริษัทของเรามีใบอนุญาตถูกต้องตามกฏหมายและขึ้นตรงกับกระทรวงแรงงานโดยมีใบอนุญาตเลขที่ นจ. 0044/2560