คู่มือการต่ออายุใบอนุญาตการทำงาน 13 ก.พ. 2568

คู่มือการต่ออายุใบอนุญาตการทำงาน

มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าว

การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 เห็นชอบ การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU ซึ่งเป็นมาตรการกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาสามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้ต่อไปเป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 ปี

กัมพูชาและเมียนมาร์ไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศ การต่ออายุใบอนุญาตทำงานในลักษณะ MOU สัญชาติลาว และเวียดนาม ต้องเดินทางกลับออกไปนอกประเทศก่อนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 หากประสงค์จะกลับเข้ามาทำงาน ให้เข้ามาทํางานตามระบบ MOU

กลุ่มคนต่างด้าวตามแนวทาง

คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตามมติคณะรัฐมนตรี

5 ก.ค. 66

8 ส.ค. 66

3 ต.ค. 66 และมติคณะรัฐมนตรี 5 ก.ค. 65

7 ก.พ. 66

30 พ.ค. 66 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

ขั้นตอนต่ออายุแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ 13 ก.พ. 2568

  1. ลงทะเบียนในระบบ
  2. ยืนยันตัวตนและแนบเอกสาร
    • อัปโหลดเอกสาร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน, บัตรประชาชน, ภาพถ่ายสถานประกอบการ
  3. สร้างแบบคำร้อง
    • ระบุข้อมูลนายจ้าง, ที่ตั้งสถานประกอบการ และข้อมูลแรงงานต่างด้าว
    • แนบเอกสาร เช่น รูปถ่ายหน้าตรง, หน้าพาสปอร์ต
  4. ตรวจสอบคำร้องโดยเจ้าหน้าที่
    • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อมูลที่ยื่น
  5. เซ็นสัญญา
    • ดำเนินการเซ็นสัญญาที่สถานทูต (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ระนอง)
    • ชำระภาษี, เซ็นสัญญา, ยื่นข้อมูลแรงงาน
  6. ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน
    • ดำเนินการตรวจสุขภาพและซื้อประกันสุขภาพให้แรงงาน
  7. ขอ Visa สำหรับแรงงาน
    • ยื่นเอกสาร Calling Visa
    • ดำเนินการตรวจลงตรา Visa ตามระยะเวลาใบอนุญาตทำงาน
  8. ออกใบแทนใบอนุญาตทำงาน
    • บันทึกข้อมูลการตรวจลงตราVISAเข้าในระบบ
    • รับใบแทนใบอนุญาตทํางานจากในระบบ

การต่ออายุใบอนุญาตทำงานด้วยระบบ MOU ของสัญชาติลาว

เอกสารที่ต้องใช้ต่อใบอนุญาตทำงาน วีซ่า ที่หมดอายุ13.ก.พ.68

เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียม

  • สำหรับนายจ้างบุคคลธรรมดา
    • สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
    • เอกสารแสดงการประกอบกิจการ (เช่น ทะเบียนพาณิชย์, สัญญาจ้างงาน)
  • สำหรับนายจ้างนิติบุคคล
    • หนังสือรับรองบริษัท (ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) อายุไม่เกิน 6 เดือน
    • สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ

เอกสารที่แรงงานต่างด้าวต้องเตรียม

  • รูปถ่ายหน้าตรง (.png, .jpeg)
  • รูปถ่ายหน้าหนังสือเดินทาง (Passport) (.png, .jpeg)
  • สัญญาจ้างงาน 3 ภาษา
  • เอกสารส่วนบุคคล เช่น เลขประจำตัวแรงงานต่างด้าว 13 หลัก

ข้อกำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว

การต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ดังนี้:

  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง: สำหรับการตรวจสอบและรับรองการเข้ามาในราชอาณาจักร
  • กรมการจัดหางาน: สำหรับการยื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน
  • กระทรวงแรงงาน: สำหรับการอนุมัติและออกใบอนุญาตทำงาน
  • สถานทูต หรือ ประเทศต้นทาง: สำหรับยื่นขอแบบบัญชีรายชื่อ

ผู้ติดตาม (บุตร)ของคนต่างด้าว

ผู้ติดตามคนต่างด้าว (บุตรของแรงงานต่างด้าว) ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี สามารถอยู่ในประเทศได้เท่ากับระยะเวลาที่บิดามารดาของผู้นั้นได้รับอนุญาต โดยจะต้องไปปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หากผู้ติดตามมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงาน ให้ไปปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และดำเนินการตามกฎหมายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวต่อไป

สรุปชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สามารถตรวจสอบสถานะสุขภาพของคนต่างด้าวที่ยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้

สรุปรายชื่อสถานพยาบาลเอกชนที่ผ่านหลักเกณฑ์ของสถานพยาบาลเอกชน ที่จะตรวจสุขภาพคนต่างด้าวซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ตามที่กรมการจัดหางานกำหนด และมีการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจสุขภาพกับระบบของกรมการจัดหางาน