มติ ครม. วันที่ 24 กันยายน 2567 อนุมัติ การเปิด ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและสามารถทำงานกับนายจ้างเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา 1 ปี กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน จึงกำหนดเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติกลุ่มดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567 นี้
กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่จะขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 ได้
- กลุ่มบุคคลต่างด้าว 4 สัญชาติ ที่ถือหนังสือเดินทางซึ่ง มีอายุหรือหมดอายุ และมีตราประทับขาเข้า NON L-A
- กลุ่มบุคคลต่างด้าว 4 สัญชาติที่ Visa หมดแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- กลุ่มบุคคลต่างด้าว 4 สัญชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต และทำงานอยู่กับนายจ้าง ก่อน 2 พ.ย. 2567
ขั้นตอนการดำเนินการ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

- ระยะที่ 1: ยื่นบัญชีรายชื่อความ ต้องการจ้างแรงงานคนต่าง ด้าว ต่อกรมการจัดหางาน ภายในวันที่ 30 ธ.ค.2567
- ระยะที่ 2: เข้ารับการตรวจสุขภาพ ซื้อประกันสุขภาพ และยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงานภายในวันที่ 30 มีนาคม 2568
- ระยะที่ 3: ดำเนินการเก็บอัตลักษณ์ บุคคล ณ สถานที่ที่ สตม. กำหนด ภายในวันที่ 28 มิ.ย.68
- ระยะที่ 4: จัดทำทะเบียนประวัติ ณ สถานที่ที่กรมการปกครอง กำหนด ภายในวันที่ 31 มี.ค.69
เอกสารที่ต้องใช้ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียม
นายจ้างบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง
- สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี*)
- กรณีมีสัญญาก่อสร้าง, สัญญาเกี่ยวการจ้างงานโปดแนบ
- กรณีที่นายจ้างไม่ใช่เจ้าบ้าน โปรดแนบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน และ สำเนาสัญญาเช่า
นายจ้างนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน*
- สำเนาบัตรประชาชนกรรมการที่มีอำนาจลงนาม
- สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการที่มีอำนาจลงนาม
- สำเนาทะเบียนบ้านบริษัท ถ้ามี*
- กรณีมีสัญญาก่อสร้าง, สัญญาเกี่ยวการจ้างงานโปดแนบ
- กรณีที่นายจ้างไม่ใช่เจ้าบ้าน โปรดแนบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน และ สำเนาสัญญาเช่า
เอกสารที่แรงงานต่างด้าวต้องเตรียม
- ชื่อแรงงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- วัน/เดือน/ปี เกิดของแรงงาน
- รูปถ่ายแรงงาน ถ่ายจากมือถือ พื้นหลังกำแพง
- สําเนาใบอนุญาตทำงานเดิม ถ้ามี*
- สําเนาพาสปอร์ตเดิม ถ้ามี*
- สำเนาบัตรประชาชนของสัญชาตินั้นๆ ถ้ามี*
- สำเนาทะเบียนบ้านของสัญชาตินั้นๆ ถ้ามี*
หลังจากตามขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวปี 2567 ครบแล้วจะได้อะไรบ้าง
- ใบอนุญาตทำงาน 1 ปี: ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับนายจ้างได้เป็นกรณี พิเศษ ถึง 30 มี.ค.2569 (มติ ครม. 24 ก.ย. 2567)
- เอกสารประทับตราการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล
- บัตรชมพู
ผู้ติดตาม (บุตร)ของคนต่างด้าวขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในปี พ.ศ. 2567
- บุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งได้แจ้งรายชื่อไว้แล้ว มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา
- หากต่อมาบุตรมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงานใน ราชอาณาจักร ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้อีก 60 วัน เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักรต่อไป
TIMELINE ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

- 15 วัน (16 ธ.ค. – 30 ธ.ค.67)
- ยื่น Name list ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ ที่กรมการจัดหางาน กำหนด
- 90 วัน (31 ธ.ค.67 – 30 มี.ค.68)
- ขออนุญาตทำงาน
- ใบรับรองแพทย์
- เอกสารประกัน สุขภาพ/ประกันสังคม
- เอกสารนายจ้าง
- ชำระค่าธรรมเนียม
- เมื่อคำขอได้รับอนุมัติ ຈະ ได้รับอนุญาตให้ทำงาน 1 ปี
- ขออนุญาตทำงาน
- 1 ปี (ถึงวันที่ 31 มี.ค.69)
-
- 90 วัน (31 มี.ค.68 – 28 มิ.ย.68)
- เก็บอัตลักษณ์บุคคล
คนต่างด้าว ดำเนินการ เก็บอัตลักษณ์บุคคล ที่ ตม. ณ สถานที่ ที่สำนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองกำหนด ภายใน 90 วัน
- เก็บอัตลักษณ์บุคคล
- จัดทำบัตรชมพู
คนต่างด้าว ดำเนินการจัดทำ ทะเบียนประวัติ (ทำบัตรสีชมพู) ณ สถานที่ กรมการปกครอง กำหนดภายใน 1 ปี
- 90 วัน (31 มี.ค.68 – 28 มิ.ย.68)
-
แนวทางในการเลือกบริษัทบริการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในการให้บริการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว - ตรวจสอบการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เลือกบริษัทที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงานหรือกรมการจัดหางาน - บริการที่ครบวงจร
เลือกบริษัทที่มีบริการครบวงจร ตั้งแต่การแจ้งข้อมูลแรงงานต่างด้าว การตรวจสุขภาพ การทำประกันสุขภาพ จนถึงการออกบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว
P. C 80 เป็นผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจร บริษัทของเรามีใบอนุญาตถูกต้องตามกฏหมายและขึ้นตรงกับกระทรวงแรงงานโดยมีใบอนุญาตเลขที่ นจ. 0044/2560 โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา: 062-567-3777
การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นสำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว เพื่อให้การทำงานในประเทศไทยเป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกอบด้วยการแจ้งข้อมูล การตรวจสอบและยืนยันข้อมูล การตรวจสอบตัวตนและสุขภาพ การยื่นคำร้องขออนุญาตทำงาน และการรับใบอนุญาตทำงานและบัตรประจำตัวคนต่างด้าวการปฏิบัติตามขั้นตอนและเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบถ้วนจะช่วยให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวสามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จากขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้อธิบายไปจะเห็นว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก และต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนายจ้างจำนวนมากที่ไม่อยากวุ่นวายกับขั้นตอนดังกล่าว หากคุณต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว คุณสามารถใช้ [บริการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว] ที่มีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาและดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างครบวงจร