เรื่องที่บริษัทต้องรู้และใส่ใจเมื่อต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวปี 2567

เรื่องที่บริษัทต้องรู้และใส่ใจเมื่อต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวปี 2567

บริษัทหลายแห่งต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในองค์กร แต่นายจ้างไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และไม่รู้ว่าจะต้องใส่ใจกับอะไรบ้าง บทความนี้จะแนะนำสิ่งสำคัญที่นายจ้างบุคคลและนิติบุคคลควรรู้เมื่อจ้างแรงงานต่างด้าว

1. การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องทําอย่างไร

  • การลงนามในบันทึกความเข้าใจกับประเทศต้นทางผ่านบริษัทเอเจนซี่ที่เป็็นทางการและได้รับการรับรองในการนำเข้าและจ้างแรงงานต่างด้าว
    • ข้อดี: ราคาไม่สูง
    • ข้อเสีย: ใช้เวลาค่อนข้างนาน (ปกติ 2-3 เดือน)
  • จ้างแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยแล้วและมีใบอนุญาตทำงานถูกต้อง
    • ประโยชน์ที่ได้รับ: รวดเร็ว (1-2 สัปดาห์)
    • หากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอย่างรวดเร็ว สามารถติดต่อได้ที่ 062-567-3777

2. นิติบุคคลสามารถจ้างต่างด้าวได้กี่คน

ไม่มีการจำกัดจำนวนแรงงานที่บริษัทสามารถจ้างได้

3. นายจ้างบุคคลธรรมดาสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ไหม

นายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้

4. แรงงานต่างด้าวต้องอายุเท่าไร

ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวจะต้องมีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์

5. แรงงานต่างด้าวต้องมีประกันสังคมหรือไม่

ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวต้องได้รับการประกันสังคมตามที่รัฐบาลกำหนด

6. แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง

ในปี 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเห็นชอบในการจัดตั้งการประชุมคณะกรรมการมีนโยบายการจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อกำหนดอาชีพสงวนใหม่ 12 อาชีพ และ 3 ประเภท ให้ชาวต่างด้าว 3 สัญชาติเข้ามาประกอบอาชีพได้

  • อาชีพแบบไม่มีเงื่อนไข 1อาชีพ ได้แก่ กรรมกร
  • อาชีพแบบมีเงื่อนไข คือ ต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำเท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการทำงานของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่ 1.กสิกรรม 2.ก่ออิฐ ช่างไม้ หรือก่อสร้างอื่น 3.ทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม 4.ทำมีด 5.ทำรองเท้า 6.ทำหมวก 7.ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย 8.ปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
  • อาชีพแบบมีเงื่อนไข ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทย ก่อนขอรับใบอนุญาตทำงาน 3 อาชีพ คือ 1.บัญชี 2.วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา และ 3.งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรม

7. ต่างด้าวห้ามทำงานอะไร

คนต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด มี 28 อาชีพ

1.แกะสลักไม้ 2.ทอผ้าด้วยมือ 3.ทอเสื่อ 4.ทำกระดาษสาด้วยมือ 5.ทำเครื่องเงิน 6.ทำเครื่องดนตรีไทย 7.ทำเครื่องถม 8.ทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก 9.ทำเครื่องลงหิน 10.ทำตุ๊กตาไทย 11.ทำบาตร 12.ทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ 13.ทำพระพุทธรูป 14.ทำร่มกระดาษหรือผ้า 15.เรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ 16.สาวหรือบิดเกลียวไหมด้วยมือ 17.ขับรถ 18.ขายของหน้าร้าน 19.ขายทอดตลาด 20.เจียระไนเพชรหรือพลอย 21.ตัดผม ดัดผม หรืองานเสริมสวย 22.นายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าหรือการลงทุนระหว่างประเทศ 23.มวนบุหรี่ด้วยมือ 24.มัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว 25.เร่ขายสินค้า 26.เสมียนพนักงาน หรือเลขานุการ 27.ให้บริการทางกฎหมาย หรืออรรถคดี 28.นวดไทยเป็นงามเพิ่มขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้งานขายของหน้าร้าน ต่างด้าวทำได้ แค่เสิร์ฟ และช่วยขายของ แต่ห้ามเก็บ หรือทอนเงิน ส่วนการเฝ้าร้านแทนนายจ้างได้แค่ชั่วคราว และต้องมีนายจ้างอยู่ด้วย ส่วนร้านเสริมสวย ทั้งร้านตัดผม และทำเล็บ ต่างด้าวทำได้แค่ปัดกวาดเช็ดถูภายในร้าน และล้างมือ เท้าเท่านั้น ห้ามตัดผม สระผม ตัดเล็บ ทาเล็บเด็ดขาด โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ภายใน 1 เดือน หลังจากประกาศใช้ กระทรวงแรงงานจะเร่งสร้างความเข้าใจกับ นายจ้าง ผู้ประกอบการ จากนั้น 6 เดือน จะมีการพิจารณาผลการบังคับใช้ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป

8. เรทเงินเดือนขั้นต่ำสำหรับแรงงานต่างด้าวคือเท่าไร

เมื่อต้นปี 2567 กระทรวงแรงงานได้ประกาศปรับมาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำโดยคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของแต่ละจังหวัด เช่นเดียวกับความต้องการแรงงานประเภทต่างๆ โดยมีอัตราค่าแรงดังนี้

330 บาท – นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา
338 บาท – ตรัง, น่าน, พะเยา, แพร่
340 บาท – ทําแพงเพชร, พิจิตร, มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, ราชบุรี, ลำปาง, เลย, ศรีสะเกษ, สตูล, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุดรรานี, อุตรดิตถ์, อุทัยรานี,
341 บาท – ชัยนาท, ชัยภูมิ, พัทลุง, สิงห์บุรี, อ่างทอง
342 บาท – กาฬสินธุ์, นครศรีรรรมราช, บึงกาฬ, เพชรบูรณ์, ร้อยเอ็ด,
343 บาท – นครสวรรค์, ยโสรร, ลำพูน,
344 บาท – ชุมพร, เพชรบุรี, สุรินทร์
345 บาท – กาญจนบุรี, จันทบุรี, เชียงราย, ตาก, นครพนม, บุรีรัมย์, ประจวบคีรีขันธ์, พังงา, พิษณุโลก, มุกดาหาร, สกลนคร, สงขลา, สระแก้ว, สุราษฎร์รานี, อุบลราชรานี,
347 บาท – กระบี่, ตราด
348 บาท – นครนายก, สุพรรณบุรี, หนองคาย
349 บาท – ลพบุรี
350 บาท – ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุรยา, สระบุรี,
351 บาท – สมุทรสงคราม
352 บาท – นครราชสีมา
361 บาท – ชลบุรี, ระยอง
363 บาท – กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมรานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร
370 บาท – ภูเก็ต

ดังที่เห็น จากตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำข้างต้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 340 บาท เป็นการกระจายค่าจ้างในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศครอบคลุมมากกว่า 16 จังหวัด รองลงมาคืออัตราค่าจ้าง 345 บาท ครอบคลุม 15 จังหวัด จังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่ำสุด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี 330 บาท ส่วนจังหวัดที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดคือ ภูเก็ต 370 บาท

9. แรงงานต่างด้าวต้องคอยรายงานตัวทุกๆ 90 วัน

กฎระเบียบการเข้าเมือง: คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

แรงงานจะต้องมารายงานตัวของตนให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทราบ 15 วัน ก่อนกำหนดเวลาหรือ 7 วันหลังจากนั้น

คนต่างด้าวจะต้องมารายงานตัวด้วยตนเองและเสียค่าปรับ จำนวน 2,000 บาท หากคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวไม่ว่ากรณีใดๆ คนต่างด้าวรายนั้นจะต้องเสียค่าปรับ 5,000 บาท และปรับอีกอีกไม่เกินวันละ 200 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522

10. ความสำคัญของการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย

สำหรับนายจ้าง

จ้างแรงงานต่างด้าวโดยที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

สำหรับแรงงานต่างด้าว

ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ คนต่างด้าว ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาทและเมื่อชำระค่าปรับแล้วคนต่างด้าวจะถูกส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปี นับแต่วันที่รับโทษ

หากนายจ้างบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย เราให้บริการในการนำเข้าแรงงานด้วยระบบ MOU ไม่จำเป็นที่ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อนด้วยตนเอง หากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอย่างรวดเร็วกรุณาติดต่อ 062-5673777 อีกทั้ง P. C 80 เป็นผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจร บริษัทของเรามีใบอนุญาตถูกต้องตามกฏหมายและขึ้นตรงกับกระทรวงแรงงานโดยมีใบอนุญาตเลขที่ นจ. 0044/2560